คอหวยไทย หวยลาว ลุ้นเลขเด็ดงานนมัสการพระธาตุพนม ทะเบียนรถนายกฯ เศรษฐา

คอหวยไทย หวยลาว ลุ้นเลขเด็ดงานนมัสการพระธาตุพนม ทะเบียนรถนายกฯ เศรษฐา

คอหวยไทย หวยลาว ลุ้นเลขเด็ดงานนมัสการพระธาตุพนม ทะเบียนรถนายกฯ เศรษฐา เสี่ยงโชคงวด 1/3/67

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่ จ.นครพนม บรรยากาศการท่องเที่ยวงานบุญใหญ่อีสาน งานนมัสการองค์พระธาตุพนม ประจำปี 2567 กำหนดจัดขึ้นระหว่าง 17 -25 กุมภาพันธ์ 2567 รวม 9 วัน 9 คืน พบว่าไม่เพียงพลังศรัทธาชาวไทย ยังพบว่ามีบรรดาชาวลาว ข้าโอกาสพระธาตุพนม ลูกพระธาตุพนม จาก สปป.ลาว ต่างเดินทางเรือโดยสารข้ามฟาก จากลาวมาฝั่งไทยวันละ 3,000 – 4,000 คน เพื่อมาท่องเที่ยวทำบุญ กราบไหว้ขอพรองค์พระธาตุพนม ตามประเพณีความเชื่อ ที่สืบทอดกันมากว่า 100 ปี เชื่อกันว่า

ทุกปีชาวลาวจะได้มีโอกาสมากราบไหว้ขอพร ถวายเครื่องสักการะบูชา ส่งผลให้เศรษฐกิจค้าขายในพื้นที่ สุดคึกคัก ร้านค้า ร้านอาหาร โรงแรมที่พักถูกจับจองเต็ม ยิ่งช่วงวันสุดท้ายของงานจะตรงกับวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา วันมาฆบูชา คาดว่าจะมีพลังศรัทธาจาก สปป.ลาว รวมถึงชาวไทย ข้ามมาท่องเที่ยวทำบุญวันละหลายหมื่นคน

ขณะเดียวกันได้ส่งผลดีต่อร้านค้า ร้านอาหาร ชาวบ้านในพื้นที่ ปรับเปลี่ยนทุกตารางนิ้ว กลายเป็นธุรกิจ ตั้งแต่ห้องน้ำ สุขา ที่อาบน้ำ ที่จอดรถ มีการประมูลเปิดบริการเก็บเงินจากประชาชน นักท่องเที่ยว โดยทุกปีจะมียอดทำบุญเข้าวัดพระธาตุพนม ไม่ต่ำกว่าปีละ 30 ล้านบาท ส่วนภาพรวมเศรษฐกิจ คาดว่าจะมีเงินหมุนเวียนสะพัดไม่ต่ำกว่าปีละเกือบ 100 ล้านบาท 

ขณะเดียวกันในส่วนของนักเสี่ยงโชคทั้งไทย-ลาว ก็จะรอ เลขเด็ด จากยอดเงินทำบุญ รวมทั้ง 9 วัน 9 คืน โดยจะมีการแจ้งยอดสุทธิหลังจบงานวันสุดท้าย นอกจากนี้ ยังมีเลขเด็ดจากทะเบียนรถยนต์ นายเศรษฐา ทวีสิน นายกรัฐมนตรี ที่เดินทางมาเป็นประธานเปิดงานงานบุญเดือนสาม นมัสการองค์พระธาตุพนม ประจำปี 2567 เมื่อวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2567 ที่ผ่านมา โดยนายกได้นั่งรถตู้สีดำ ทะเบียน 1 ขศ 87 ซึ่งคอหวยหลายคนก็เก็งไว้ลุ้นรางวัลในงวด 1 มีนาคม 2567 นี้เช่นกัน

ประวัติความเป็นมา งานนมัสการองค์พระธาตุพนม

งานนมัสการองค์พระธาตุพนม จัดขึ้นในช่วง วันขึ้น 8 ค่ำ เดือน 3 จนถึงวันแรม 1 ค่ำเดือน 3 ถือเป็นงานบุญประเพณีใหญ่ของชาวอีสาน ที่สืบทอดกันมายาวนาน ตั้งแต่ปี 2519 ยาวนานกว่า 40 ปี โดยจากประวัติความเป็นมา ตามตำนานความเชื่อ พระอุรังคนิทาน ระบุไว้ว่า สมัยหนึ่งในปัจฉิมโพธิกาล พระพุทธเจ้า พร้อมพระอานนท์ ได้เสด็จมาทางอากาศ เพื่อไปบิณฑบาต ที่เมืองศรีโคตรบูร สปป.ลาว ภายหลังได้มาประทับแรมที่ภูกำพร้า คือ จุดที่ก่อสร้างองค์พระธาตุพนมในปัจจุบัน จากนั้นพญาอินทร์ ได้เสด็จมาทูลถาม ซึ่งพระพุทธองค์ได้ตรัสว่า เป็นประเพณีของพระพุทธเจ้า 3 พระองค์ ในภัททกัลป์ที่นิพพานไปแล้ว บรรดาสาวกจะนำพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้ที่ภูกำพร้า เช่นกันกับพระพุทธองค์ เมื่อนิพพานแล้ว พระมหากัสสะปะ ผู้เป็นสาวก จะได้นำเอาพระบรมสารีริกธาตุมาบรรจุไว้เช่นกัน

ภายหลังพระพุทธเจ้าปรินิพพาน พระมหากัสสะปะ ผู้เป็นสาวก ได้ร่วมกันสร้างองค์พระธาตุพนมขึ้น เพี่ออัญเชิญพระอุรังคธาตุ มาประดิษฐาน ประมาณพุทธศตวรรษที่ 12-14 หรือในราวปี พ.ศ. 8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูร กำลังเจริญรุ่งเรือง โดยการนำของพญาเจ้าเมืองทั้ง 5 และพระอรหันต์ 500 องค์ ซึ่งในยุคแรก ได้ก่อสร้างจากดินดิบ เป็นเตาสี่เหลี่ยม ข้างในเป็นโพรงมีประตูทั้ง 4 ด้าน จากนั้นได้มีการบูรณะ ครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 500 และทำการบูรณะต่อเนื่องมารวมถึง 6 ครั้ง 

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2518 พระธาตุพนมได้พังทลายลง เนื่องจากฐานเก่าแก่ ทำให้เป็นที่ฮือฮา เพราะได้พบเห็นผอบแก้ว บรรจุพระอุรังคธาตุ 8 องค์ ไว้ภายใน และมีการลงเข็มรากสร้างพระธาตุพนมองค์ใหม่ เมื่อปี 2519 เป็นเจดีย์ทรงฐาน 4 เหลี่ยม ความสูง จากพื้นถึงยอดฉัตร 57 เมตร ฐานกว้างด้านละประมาณ 12 เมตร ยอดฉัตรเป็นทองคำน้ำหนักกว่า 10 กิโลกรัม ภายในได้บรรจุพระอุรังคธาตุ หรือกระดูกส่วนหน้าอก ของพระพุทธเจ้า 

จากนั้นจึงได้มีการจัดพิธีเฉลิมฉลอง บูชาองค์พระธาตุพนม จนสืบทอดมาถึงปัจจุบันทุกปี ที่สำคัญถือเป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ ส่งผลดีทั้งการท่องเที่ยว และสร้างเศรษฐกิจ เงินหมุนเวียนสะพัดปีละหลาย 100 ล้านบาท ส่วนยอดทำบุญ มีพลังศรัทธาร่วมบริจาคปีละไม่ต่ำกว่า 20-30 ล้านบาท

ขอขอบคุณที่มา : Sanook.com